หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

รายงานผลการการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง ชุดคำ 7 ชนิด ของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม


 
ชื่อผลงานวิจัย    รายงานผลการการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง ชุดคำ 7 ชนิด ของ  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม
ชื่อผู้วิจัย           นางสุภาพร  รักษากลาง ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการ
ปีที่วิจัย             2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง ชุดคำ 7 ชนิด
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยโดยใช้หน่วยชั้นเรียนโดยวิธีการจับฉลาก ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ของโรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 36 คน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้โดยคละความสามารถ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบค่าที  ผลการวิจัย  พบว่า
1)  ผลการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่อง ชุดคำ 7 ชนิด ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.74/82.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และได้ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.65 หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือร้อยละ 50
2) ผลการเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ  พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า มีความคิดเห็นโดยแบบรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.53)



วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

บทคัดย่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

หัวข้อที่ศึกษา              การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เรื่อง  พลังงานและไฟฟ้า  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา                 นางอนงค์นาฎ     พลพิมพ์
ปีการศึกษา                2556

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   เรื่อง  พลังงานและไฟฟ้า  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้              1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  พลังงานและไฟฟ้า  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ตามเกณฑ์ 80/80   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า 3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า   โดยมี                  กลุ่ม เป้าหมายคือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  ปีการศึกษา 2556   โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม  เทศบาลตำบลโคกสำโรง  อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี  จำนวน 30 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่                1)  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า  จำนวน 4 ชุด   2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พลังงานและไฟฟ้า  จำนวน 20 ข้อ  3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย (mean)   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard  deviation)  การวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ (percentage)  และการทดสอบที (t-test)
          ผลการศึกษาพบว่า
          1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  81.11 / 80.00
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า  มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
          3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ที่เรียนโดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานและไฟฟ้า  มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับ " มาก "  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.68


วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

บทคัดย่อรายงานการใช้สื่อการสอนกระดานฝึกอ่าน


ชื่อเรื่อง                     รายงานการใช้สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
                               ชั้นประถมศึกษาปีที่  1/3   โรงเรียนเทศบาล 2 วัดแก้วจันทราราม ตำบลโคกสำโรง        อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ผู้ศึกษาค้นคว้า          นางสาวยุพาพรรณ  เพ็ชรไพฑูรย์
โรงเรียน                  โรงเรียนเทศบาล 2 วัดแก้วจันทราราม ตำบลโคกสำโรง     อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
                               ปีที่พิมพ์  2557

บทคัดย่อ

                      การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  1)   เพื่อพัฒนาการใช้สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1   ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80
2.  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการใช้สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1/3  โรงเรียนเทศบาล 2 วัดแก้วจันทราราม ตำบลโคกสำโรง   อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี    จำนวน  27  คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี  3  ชนิด  ได้แก่                 1.  แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ใช้สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านคำพื้นฐานตามมาตราตัวสะกด  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  จำนวน  9  แผน 2.  แบบทดสอบการอ่านอ่านคำพื้นฐานตามมาตราตัวสะกด  จำนวน  9  ชุด ได้ค่าประสิทธิภาพ  E1/E2 คือ 83.14/80    3.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ   ซึ่งผ่านการหาคุณภาพของข้อสอบและได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.63 

                      ผลจากการศึกษาค้นคว้า  พบว่า 
                      1.  สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  มีประสิทธิภาพ  (E1/E2)  เท่ากับ  83.14/80  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                      2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  หลังการใช้.  สื่อการสอนกระดานฝึกอ่านคำ  สูงกว่าก่อนใช้

บทคัดย่อรายงานผลการใช้สื่อประดิษฐ์ เรื่อง สมบัติของวัสดุ


ชื่อผลงาน             รายงานผลการใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์           ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้ทำผลงาน     นางอนงค์นาฎ     พลพิมพ์

ตำแหน่ง               ครู   วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ปีที่พิมพ์                พ.ศ. 2557


บทคัดย่อ


การดำเนินงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1)เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการเรียนรู้ที่เรียนจาก    สื่อการจัดการเรียนรู้   รายวิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   โดยใช้สื่อประดิษฐ์   (2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อการจัดการเรียนรู้  รายวิชา วิทยาศาสตร์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ โดยใช้สื่อประดิษฐ์  (3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม  อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี    ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556  จำนวน 86 คน    ดำเนินการสอนโดยใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง  สมบัติของวัสดุ   ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3    เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา  ใช้เวลาในการทดลองสอน 6  คาบ  คาบละ 60 นาที    เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน  ได้แก่  (1)แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน   (2)สื่อประดิษฐ์  เรื่อง  สมบัติของวัสดุ   (3)ใบงานระหว่างเรียน   (4)  แบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนหลังการใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   รายวิชา วิทยาศาสตร์   โดยใช้แบบแผนการดำเนินงานแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว  (One  Group  Pretest – Posttest  Design)  และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xเฉลี่ย)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าร้อยละ  ค่าที  (t – test)   ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน                  การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้  ใช้วิธีการทางสถิติแบบที่เรียกว่าt-test สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน  (t-test  Dependent  Sample)
                ผลการดำเนินงานพบว่าประสิทธิภาพของสื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   มีประสิทธิภาพ  80.08 / 80.00  (เทียบเท่ากับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80)  ความก้าวหน้าทางการเรียนโดยการใช้สื่อประดิษฐ์  ที่ร้อยละ 36.00  มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  นักเรียนมีพึงพอใจหลังการใช้สิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับดี




คู่มือการใช้สื่อhttp://1drv.ms/1icnCH7

Hi5 Comments,Codes,Graphics,Glitters,images,Scraps,Comentarios,Fondos