หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

บทคัดย่อรายงานผลการใช้สื่อประดิษฐ์ เรื่อง สมบัติของวัสดุ


ชื่อผลงาน             รายงานผลการใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์           ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ชื่อผู้ทำผลงาน     นางอนงค์นาฎ     พลพิมพ์

ตำแหน่ง               ครู   วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ปีที่พิมพ์                พ.ศ. 2557


บทคัดย่อ


การดำเนินงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1)เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของการเรียนรู้ที่เรียนจาก    สื่อการจัดการเรียนรู้   รายวิชาวิทยาศาสตร์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   โดยใช้สื่อประดิษฐ์   (2)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อการจัดการเรียนรู้  รายวิชา วิทยาศาสตร์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ โดยใช้สื่อประดิษฐ์  (3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  3   โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดแก้วจันทราราม  อำเภอโคกสำโรง  จังหวัดลพบุรี    ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556  จำนวน 86 คน    ดำเนินการสอนโดยใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง  สมบัติของวัสดุ   ซึ่งเป็นหัวข้อหนึ่งในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3    เรื่อง วัสดุรอบตัวเรา  ใช้เวลาในการทดลองสอน 6  คาบ  คาบละ 60 นาที    เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน  ได้แก่  (1)แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน   (2)สื่อประดิษฐ์  เรื่อง  สมบัติของวัสดุ   (3)ใบงานระหว่างเรียน   (4)  แบบสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนหลังการใช้สื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   รายวิชา วิทยาศาสตร์   โดยใช้แบบแผนการดำเนินงานแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว  (One  Group  Pretest – Posttest  Design)  และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( xเฉลี่ย)  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าร้อยละ  ค่าที  (t – test)   ค่าความก้าวหน้าทางการเรียน                  การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้  ใช้วิธีการทางสถิติแบบที่เรียกว่าt-test สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน  (t-test  Dependent  Sample)
                ผลการดำเนินงานพบว่าประสิทธิภาพของสื่อประดิษฐ์  เรื่อง สมบัติของวัสดุ   รายวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   มีประสิทธิภาพ  80.08 / 80.00  (เทียบเท่ากับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80)  ความก้าวหน้าทางการเรียนโดยการใช้สื่อประดิษฐ์  ที่ร้อยละ 36.00  มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด   คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  นักเรียนมีพึงพอใจหลังการใช้สิ่งประดิษฐ์อยู่ในระดับดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Hi5 Comments,Codes,Graphics,Glitters,images,Scraps,Comentarios,Fondos